พระจักรพรรดิ์ศิลา
พระประธานประจำศาลาการเปรียญชั้นล่าง
เป็นพระพุทธรูปหินทรายแกะสลัก สร้างโดยพระมหาจินตวัฒน์ จารุวฑฺฒโน เจ้าอาวาสวัดม่วงชุมองค์ปัจจุบัน
วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556
พระเจ้าทันใจ "วัดม่วงชุมมหาเจดีย์บางระจัน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี"
พระเจ้าทันใจ
สร้างโดยพระมหาจินตวัฒน์
จารุวฑฺฒโน เจ้าอาวาสวัดม่วงชุมองค์ปัจจุบัน
สร้างเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล
เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระชนมายุ ครบ ๘๐ พรรษา
เป็นพระพุทธรูปหินทรายแกะสลัก ประดิษฐานที่หน้าพิพิธภัณฑ์พระครูรัตนาธาร
พระพุทธจักรพรรดิ์ทรงเครื่องใหญ่ "วัดม่วงชุมมหาเจดีย์บางระจัน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี"
พระพุทธจักรพรรดิ์ทรงเครื่องใหญ่
เป็นศิลปะล้านนาโดยช่างชาวลำพูน ประดับด้วยรัตนชาติ แต่เดิมนั้นเป็นหลวงพ่อแช่ม
แล้วมาสร้างพระพุทธจักพรรดิ์ครอบประดิษฐานภายในวิหารพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย บูรณะสร้างขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๑ โดย พระมหาจินตวัฒน์ จารุวฑฺฒโน ป.ธ.๘ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
พระพุทธชินราช (จำลอง) "วัดม่วงชุมมหาเจดีย์บางระจัน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี"
พระพุทธชินราช (จำลอง)
ประดิษฐานเป็นองค์ประธานในพระพุทธมหาเจดีย์บางระจันในปี พ.ศ.๒๕๓๕
โดยมีพระครูรัตนาธารเป็นผู้สร้าง
พระครูรัตนาธาร (หลวงพ่อเยื้อน) "วัดม่วงชุมมหาเจดีย์บางระจัน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี"
พระครูรัตนาธาร อดีตเจ้าอาวาสวัดม่วงชุมมหาเจดีย์บางระจัน ท่านเป็นคนบ้านจ่า มีพี่น้องด้วยกันทั้งหมด
๔ คน พระครูรัตนาธารได้เปรียญธรรม ๔
ประโยค และท่านเป็นหนึ่งใน ๑๐๘ พระเกจิอาจารย์ดังทั่วประเทศ หลวงพ่อมรณภาพเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๗ อายุ
๘๓ ปี ด้วยโรคชรา
พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อพระครูรัตนาธาร "วัดม่วงชุมมหาเจดีย์บางระจัน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี"
พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อพระครูรัตนาธาร
เป็นอาคารคอนกรีต จตุรมุขชั้นเดียว
หน้าบันทั้ง ๔ ด้าน เป็นรูปพัดยศ เป็นที่ตั้งเก็บสรีระศพพระครูรัตนาธาร (เยื้อน
กิตฺติคุโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดม่วงชุม
วิหารพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย "วัดม่วงชุม อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี"
วิหารพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
เป็นวิหารคอนกรีตกว้าง
๕.๖๐ ยาว ๑๔.๓๑ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ บูรณะใหม่ พ.ศ.๒๕๕๑ จั่วชั้นเดียว
หน้าบันทั้งด้านหน้าและด้านหลังเป็นปูนปั้นเทพพนม ล้อมรอบด้วยลายไทย
ประตูหน้าต่างเป็นลายปูนปั้น ซุ้มเรือนแก้วหน้าต่างด้านละ ๒ ช่อง เพดานปูนสีขาว
ฝาผนังด้านในประดับด้วยไม้แกะสลัก ๖ รูป พื้นเป็นหินอ่อนแล้วปูด้วยพรหมวันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556
"พระศรีอาริยเมตไตรย์" "วัดม่วงชุม มหาเจดีย์บางระจัน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี"
"พระศรีอาริยเมตไตรย์"
พระพุทธรูปทรงเครื่องดอกพิกุล สร้างเมื่อสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นพระโบราณของวัดประดิษฐานในพิพิธภัณฑ์พระครูรัตนาธาร
"หลวงพ่อดำ" "วัดม่วงชุม มหาเจดีย์บางระจัน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี"
"หลวงพ่อดำ" ขุดพบเฉพาะเศียรพระ เป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนกลาง มีพระพักตร์สวยงามและมีอำนาจ อายุราว ๔๐๐ ปี ปัจจุบันได้สร้างองค์พุทธรูปขึ้นและใช้เศียรพระเดิมที่ขุดพบเป็นส่วนเศียร
อุโบสถ "วัดม่วงชุม อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี"
อุโบสถ
สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓ กว้าง ๗.๒๕ เมตร ยาว ๑๖
เมตร อาคารคอนกรีต ฝาทั้ง ๔ ด้านใช้ปูนหล่อ โดยการสร้างแบบขึ้นแล้วเทปูนใส่แบบ
ไม่ใช่การก่ออิฐถือปูน หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาสีน้ำตาลแดง จั่วซ้อน ๒ ชั้น
มีช่อฟ้าใบระกาและหางหงส์ หน้าบันมี ๒ ด้าน
หน้าบันด้านหน้าเป็นปูนปั้นพระนารายณ์ทรงครุฑ ล้อมรอบด้วยลายไทย
ใต้หน้าบันเขียนว่า “สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓” รวมอายุ ๗๒ ปี
หน้าบันด้านหลังเป็นปูนปั้นฐานลอยพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณล้อมรอบด้วยลายไทยและเทพพนม
วันเสาร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2556
พระพุทธชัยมงคลสุพรรณรังสีโลกนาถมหามุนี (หลวงพ่อขาว) "วัดม่วงชุม มหาเจดีย์บางระจัน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี"
พระมหาเจดีย์บางระจัน "วัดม่วงชุม มหาเจดีย์บางระจัน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี"
"วัดม่วงชุม มหาเจดีย์บางระจัน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี"
ประวัติ ความเป็นมา ความหมายของชื่อ
"วัดม่วงชุม มหาเจดีย์บางระจัน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี"
"วัดม่วงชุม มหาเจดีย์บางระจัน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี"
สันนิษฐานว่าสร้างตั้งแต่สมัยอยุธยา
เดิมชื่อว่า “วัดกระดังงา” เป็นวัดร้างตั้งแต่สมัยสงครามกับพม่าและเสียกรุงครั้งที่
๒ โดยได้ขุดพบเศียรพระหินทรายเป็นจำนวนมาก ดังมีตัวอย่าง คือ
หลวงพ่อดำ ประดิษฐานอยู่บริเวณหลังวัด ปัจจุบันยังปรากฏซากปรักหักพังใต้ดินอยู่ด้านเหนือของวัด
ต่อมาเมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองสงบหลังมีอิสระภาพจากพม่า
ชาวบ้านจึงได้กลับมาตั้งถิ่นฐานใหม่ จนประมาณ พ.ศ. ๒๔๒๔
นายโคกร่วมกับชาวบ้านได้ก่อสร้างวัดขึ้นมาใหม่ ณ
ที่ตั้งวัดปัจจุบันซึ่งใกล้กับวัดเดิม และตั้งชื่อว่า “วัดม่วงชุม”
ที่มาของชื่อวัดม่วงชุม มาจาก
ชาวบ้านบางระจันได้ไปชุมนุมกันที่ใต้ต้นมะม่วงเพื่อที่จะทำการสร้างวัด
จึงได้ตั้งชื่อว่า “วัดม่วงชุม”แปลว่า “ชุมนุมใต้ต้นมะม่วง”
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)